วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประวัติพี่ผึ้ง2


พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของฉายา ราชินีลูกทุ่ง ได้ชื่อว่ามีน้ำเสียงออดอ้อน หวาน จำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้กับนักร้องรุ่นหลัง
รำพึง จิตรหาญ เกิดที่ตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี (บางตำราบอกว่า เกิดที่ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท แต่มาโตที่ จังหวัดสุพรรณบุรี ) เป็นบุตรคนที่ 5 จาก 12 คนของนายสำราญ และนางเล็ก จิตรหาญ ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างทำไร่อ้อย
เด็กหญิงรำพึง จิตรหาญ ในนาม "น้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย"เป็นที่ใช้ในการประกวดร้องเพลงแถว สองพี่น้องศรีประจันต์ บางปลาม้า ผักไห่ เสนา มหาราช วิเศษชัยชาญ บ้านแพรก หนองโดนพระพุทธบาทหลังจากนั้น รำพึง จิตรหาญ ก็บ่ายหน้าเข้ากรุงเทพ ฯ กับพี่ชายมาอยู่รับใช้ในวงดนตรีเล็กๆ แถวซอยบุปผาสวรรค์ เพื่อเป็นนักร้องแต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงกลับบ้านมาตัดอ้อยที่บ้านต่อ จนกระทั่งวงดนตรีของไวพจน์ เพชรสุพรรณ มาเปิดการแสดงที่วัดทับกระดาน พ่อสำราญจึงได้นำเด็กหญิงรำพึง มาฝากกับไวพจน์ในฐานะลูกบุญธรรม และไวพจน์ก็ได้รับไว้
และแล้วความฝันของเด็กหญิงรำพึงก็เป็นความจริงเมื่อครูไวพจน์สนับสนุนให้อัดแผ่นเสียงในเวลาต่อมา เพลงแรกที่ได้รับการบันทึกแผ่นเสียงคือเพลง "แก้วรอพี่" โดย ไวพจน์ เพชรสุพรรณเป็นผู้แต่งเพลงให้ ตามมาด้วยเพลง "นักร้องบ้านนอก" แต่งโดยครูไวพจน์เช่นกัน จนเป็นที่รู้จักกันในนาม "น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ"
ในช่วงนั้น รำพึงอายุ 15 ปี ได้ตัดสินใจออกจากวงของครูไวพจน์ ย้ายมาอยู่วงขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด โดยมีธีระพล แสนสุข เพื่อนรักที่มาด้วยกัน ต่อมามนต์ เมืองเหนือ เห็นว่าชื่อของน้องผึ้งน่าที่จะเปลี่ยนใหม่เพื่อให้แลดูดีขึ้น มนต์ เมืองเหนือ จึงได้ตั้งชื่อให้ใหม่เป็น พุ่มพวง ดวงจันทร์ ด้วยความหมายว่า ดวงจันทร์จะสวยงามเมื่อส่องสว่างอยู่ในท้องทุ่งบ้านนอก
ในเวลาต่อมา พุ่มพวง ได้ตั้งวงดนตรีขึ้นเองโดยการผลักดันของ ธีระพล แสนสุข และมนต์ เมืองเหนือ ดีบ้างไม่ดีบ้างล้มลุกคลุกคลานมา จนได้เข้าสังกัดของประจวบ จำปาทอง เสี่ยงู้ ปรีชาอัศวฤกษ์นันท์ และหมอเอื้ออารีย์ เห็นแววจึงตัดสินใจนำมาโปรโมทจับคู่กับเสรี รุ่งสว่าง จนโด่งดังสุดขีดในปี 2525 และความดังไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เมื่อพุ่มพวง ได้เพลงจากผลงานการแต่งของครูลพ บุรีรัตน์ เช่น สาวนาสั่งแฟน, นัดพบหน้าอำเภอ, อื้อฮือหล่อจัง, กระแซะเข้ามาซิ และอีกมากมาย ยิ่งส่งให้พุ่มพวงโด่งดังมากสุด ๆ ในเวลานั้น จนได้รับการยกย่องว่าเธอ คือ "ราชินีเพลงลูกทุ่ง" อย่างแท้จริง
ความโด่งดัง และความที่พุ่มพวงเป็นคนที่มีหน้าตาดี จึงเป็นเข็มทิศนำพาให้ พุ่มพวงเข้าสู่วงการภาพยนตร์ และได้เป็นนางเอกภาพยนตร์ ช่วงนั้นเองพุ่มพวงได้พบกับไกรสร แสงอนันต์ และได้ตกลงที่จะเป็นคู่ชีวิตอยู่กินด้วยกันในเวลาต่อมา จนกระทั่งมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ น้องเพชร แต่เส้นทางชีวิตของพุ่มพวงมิได้โปรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป พุ่มพวงประสบกับปัญหาอย่างหนักหลายเรื่องรวมทั้งปัญหาเรื่องสุขภาพโดยมีอาการภูมิแพ้ตัวเอง หรือโรคเอสแอลอี อาการเริ่มทรุดหนัก และลุกลามถึงไต แล้ววันที่ทำให้แฟนเพลงชาวไทยทั้งประเทศไม่คาดคิดก็มาถึง ในวันที่ 13 มิถุนายน 2535 พุ่มพวงดวงจันทร์ ก็จากไปอย่างไม่มีวันกลับ ด้วยวัยเพียง 31 ปี เท่านั้น สวดอภิธรรมศพที่วัดมกุฏกษัตริยารามพิธีพระราชทานเพลิงศพของพุ่มพวง ดวงจันทร์ จัดที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธี
นอกจากนี้ยังมีการสร้างหุ่นพุ่มพวง ตั้งอยู่ในศาลาริมสระน้ำ วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งชาวบ้านมีการจัดงานรำลึก ถึงพุ่มพวงทุกปี ช่วง 13-15 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของเธอ
พุ่มพวง ดวงจันทร์ เป็นผู้ที่มากด้วยความสามารถ เป็นนักสู้ชีวิต เป็นผู้ที่ไม่ยอมแพ้แก่ดวงชะตา และเป็นผู้ที่มีความอดทนสูง นับว่าเป็นผู้ที่น่าได้รับการยกย่องอย่างยิ่ง

พุ่มพวง ดวงจันทร์
[ดูภาพทั้งหมดในหมวด]
หัวข้อ
ผลงาน
ผลงาน
ปี พ.ศ.2528 นักร้องสาวผู้เป็นขวัญใจแฟนเพลงทั่วประเทศได้กลับมาทำงานเพลงที่เธอรัก และที่หลายๆ คนต่างเรียกร้องอีกครั้ง หลังหายไปนานปีกว่า พร้อมทั้งการกลับมาหนใหม่เธอได้นำเอาความเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มความสนุกสนาน มีชีวิตชีวาให้กับคนฟังในเพลง กระแซะเข้ามาซิ, ห่างหน่อยถอยนิด, อื้อฮือหล่อจัง ที่ครั้งผลงานโดยรวมต้องยกความดีความชอบให้กับ "ครูลพ บุรีรัตน์" ครูเพลงคู่บุญที่ทำให้อัลบั้มดังกล่าวขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเลยทีเดียว ในเวลาต่อมา "พุ่มพวง" ได้ออกผลงานต่อเนื่องทันทีกับอัลบั้ม "ตั๊กแตนผูกโบ" แต่ความนิยมกลับไม่ดังเปรี้ยงปร้างอย่างที่หลายคนคาดหวังนัก แต่นั่นไม่ได้ทำให้นักร้องสาวผู้ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมายครั่นคร้ามหรือกังวลแต่อย่างใด เพราะผลงานเพลงชุด "หนูไม่รู้" ในปี พ.ศ.2531 ผลงานของครู ลพ บุรีรัตน์ ภายใต้สังกัดท็อปไลน์ ก็ทำให้ชื่อของ "พุ่มพวง" กลับมาฮิตกระฉ่อนกันอีกหน พร้อมกับการการันตีอัลบั้มขายดีดังเดิม บทเพลงต่างๆ ของ "ราชินีลูกทุ่ง" นาม "พุ่มพวง ดวงจันทร์" ถูกนำเอามาเปิด เอามาร้องตามกันจนฮิตติดปากกันทั่วบ้านทั่วเมือง เป็นร้อยๆ เพลงแต่มีน้อยคนนักที่จะรับรู้ว่าเกียรติประวัติในฐานะผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลงให้กับคอเพลงลูกทุ่งนั้น มีรางวัลอะไรบ้าง สำหรับผลงานเกียรติประวัติที่ได้บันทึกในหน้าประวัติศาสตร์นอกเหนือการได้รับคัดเลือกให้ร้องเพลงพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในเพลง "ส้มตำ" ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 โดยเป็นการร้องถวายการแสดงหน้าพระที่นั่งแล้ว ลูกทุ่งสาวชื่อดังยังได้รับเกียรติประวัติต่างๆ อีกหลายครั้ง อาทิ ในปี พ.ศ.2521 เธอได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งจัดโดย สถานีวิทยุเสียงสามยอด (ส.ส.ส.) ในเพลง "อกสาวเหนือสะอื้น" ที่แต่งโดย คู่ชีวิตคนแรก "ธีระพล แสนสุข" ในปี พ.ศ.2532 เธอได้รับรางวัลพระราชทานขับร้องดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ในเพลง "สาวนาสั่งแฟน" แต่งโดย ครูลพ บุรีรัตน์ (วิเชียร คำเจริญ) ทั้งนี้ "พุ่มพวง" ถึงกับปลาบปลื้มดีใจ และเป็นเกียรติอย่างมาก เมื่อปี พ.ศ.2533 คณะกรรมการจัดทำเพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า ครบ 90 พรรษา คัดเลือกให้ขับร้องเพลง "น้ำพระทัยสมเด็จย่า" แต่งโดย ครูลพ บุรีรัตน์ ก่อนที่ ปีพ.ศ.2534 จะได้รับรางวัลพระราชทานขับร้องดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกครั้ง ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2 ในเพลง "สยามเมืองยิ้ม" แต่งโดย ครูลพ บุรีรัตน์ จนกระทั่งปี พ.ศ.2537 รางวัลสุดท้ายที่ "ราชินีลูกทุ่ง" ได้รับ (ถึงแม้จะจากลาแฟนเพลงไปแล้ว) คือ รางวัลพระราชทานเกียรติบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่ง สืบสานคุณค่าวัฒนธรรมไทย ในเพลง "นักร้องบ้านนอก" แต่งโดย ครูเพลงคนแรก "ไวพจน์ เพชรสุพรรณ" อย่างไรก็ดี เหล่าบรรดาคนในวงการเพลงลูกทุ่งต่างเชื่อมั่นกันเหลือเกินว่า หาก "ผึ้ง" พุ่มพวง ดวงจันทร์ ไม่ด่วนจากลาไปแบบไม่มีใครคาดคิดเสียก่อน "รางวัลศิลปินแห่งชาติ" ต้องตกเป็นของเธออย่างแน่นอน ผลงานเพลง- ตั๊กแตนผูกโบว์ - นัดพบหน้าอำเภอ - อื้อฮือหล่อจัง - กระแซะเข้ามาซิ - ดาวเรืองดาวโรย - คนดังลืมหลังควาย - นักร้องบ้านนอก - บทเรียนราคาเพลง - หม้ายขันหมาก - ส้มตำ - แก้วรอพี่
ผลงานภาพยนตร์- สงครามเพลง - รอยไม้เรียว (2526) - ขอโทษที ที่รัก (2527) - คุณนาย ป.4 (2527) - จงอางผงาด (2527) - ชี (2527) - นางสาวกะทิสด (2527) - มนต์รักนักเพลง (2527) - สาวนาสั่งแฟน (2527) - อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง (2527)- อีแต๋น ไอเลิฟยู (2527) - ที่รัก เธออยู่ไหน (2528) - เชลยรัก (2530) - เพลงรัก เพลงปืน (2530)
http://remember-unclemit.blogspot.com/ (ประวัติโดยย่อและรูปภาพของพระเอกตลอดกาล มิตร ชัยบัญชา)

ประวัติพี่ผึ้ง


[แก้] เส้นทางนักร้อง
รำพึง ชื่นชอบการร้องเพลงลูกทุ่งตั้งแต่เด็กเดินสายประกวดร้องเพลงลูกทุ่งใช้ชื่อว่าน้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย และมาอยู่กับวงดนตรี ดวง อนุชา ตั้งแต่อายุประมาณ 10 ขวบ เมื่ออายุได้ 15 ปี บิดาและน้าชายของรำพึงฝากฝังให้เป็นบุตรบุญธรรมของไวพจน์ เพชรสุวรรณ โดยใช้ชื่อว่า น้ำผึ้ง สกุณี ก่อนที่ไวพจน์ จะแต่งเพลงและอัดแผ่นเสียงชุดแรกให้ ชื่อเพลง แก้วรอพี่ และหันมาใช้ชื่อในการร้องเพลงว่า น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ เมื่อ พ.ศ. 2519 ต่อมา ลาออกจากวงไวพจน์มาพร้อมกับธีระพล แสนสุข ไปอยู่กับวงดนตรีศรเพชร ศรสุพรรณ เป็นทั้งนักร้องพร้อมกับเต้นหางเครื่องด้วย และย้ายมาอยู่กับขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด หลังจากอยู่กับศรเพชรไม่นาน และได้บันทึกเสียงจากการแต่งของก้อง กาจกำแหง ร้องแก้ขวัญชัย เพลงนั้นคือ รักไม่อันตรายและรำพึง ใช้ชื่อในการร้องเพลงว่า พุ่มพวง ดวงจันทร์ จากการตั้งชื่อโดย มนต์ เมืองเหนือและตั้งวงดนตรีเป็นของตนเอง โดยการสนับสนุนของคารม คมคาย นักจัดรายการวิทยุ มนต์ เมืองเหนือแต่ไม่ประสบความสำเร็จก็มาสังกัดบริษัทเสกสรรเทป-แผ่นเสียงผลงานของพุ่มพวง ดวงจันทร์เริ่มประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาหลังจากได้รับการสนับสนุนจาก[[ประจวบ จำปาทอง]และปรีชา อัศวฤกษ์นันท์ให้ตั้งวงร่วมกับเสรี รุ่งสว่าง ในชื่อวง เสรี-พุ่มพวง จากจุดนี้ก็ได้รับความสำเร็จขึ้นพุ่มพวง มีชื่อเสียงสูงสุดในช่วงปี พ.ศ. 2515-2534หลังจากออกจากเสกสรรเทป-แผ่นเสียงมาอยู่ในสังกัดอโซน่าด้วยเพลงจากการแต่งของ[[ลพ บุรีรัตน์]ที่พลิกแนวให้หันมาร้องเพลงสนุก ๆ และได้การตอบรับจากคนฟังเป็นอย่างมาก เพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สาวนาสั่งแฟน ซึ่งเป็นเพลงจุดประกาย ก่อนจะตามมาด้วยเพลง นัดพบหน้าอำเภอ, อื้อฮือหล่อจัง,ดาวเรืองดาโรย, คนดังลืมหลังควาย, นักร้องบ้านนอก, บทเรียนราคาเพลง, หม้ายขันหมาก และอื่นๆอีกมาก นอกจากนี้ ยังได้เป็นผู้ร้องเพลง ส้มตำ (เพลงพระราชนิพนธ์) พระราชนิพนธ์ใน[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี]พุ่มพวงเข้าสู่วงการภาพยนตร์ และแสดงหนังเรื่องแรก สงครามเพลง สร้างโดยฉลอง ภักดีวิจิตร และอีกหลายเรื่อง ในช่วงที่แสดงภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักนักเพลง ได้พบกับ (ไกรสร แสงอนันต์) ไกรสรได้พาพุ่มพวงพามาเข้าสังกัด อ.ไพจิตร ศุภวารี และมีผลงานอีกหลายชุด เช่น ตั๊กแตนผูกโบว์ โลกของผึ้ง หลังจากนั้นมาอยู่กับห้างท็อปไลน์

ลาลับ
พุ่มพวงหายหน้าไปจากวงการเนื่องจากป่วยด้วย[[โรคเอสแอลอี]หรือโรคแพ้ภูมิตัวเองก่อนจะเสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535สิริอายุได้ 31 ปี สวดอภิธรรมศพที่วัดมกุฏกษัตริยารามพิธีพระราชทานเพลิงศพของพุ่มพวง ดวงจันทร์ จัดที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. พ.ศ. 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีนอกจากนี้ยังมีการสร้างหุ่นพุ่มพวง ตั้งอยู่ในศาลาริมสระน้ำ วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งชาวบ้านมีการจัดงานรำลึก ถึงพุ่มพวงทุกปี ช่วง 13-15 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของเธอ